วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 8 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทย

การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทย
        ในอดีตการจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"

        ส่วน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้

        การตั้งถิ่นฐานของผู้คน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น
  1. การเข้ามาของอารยธรรมใหญ่ คืออินเดียและจีน
  2. ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 13
  3. ยุคสมัยของการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17)
  4. ประเทศไทยก่อนสมัยใหม่
  5. รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม
  6. การปฏิวัติ 2475 และกำเนิดรัฐประชาชาติในทางทฤษฎี
  7. การปฏิวัติ 14 ตุลาคม 2516

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น